วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)


.....การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) คือ การเรียนการสอนที่อาศัยสื่อหลาย ๆชนิดผสมผสานกัน ตั้งแต่ด้านเทคโนโลยี กิจกรรมการเรียนการสอน และเหตุการณ์ที่เหมาะสมเพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายการผสมผสาน (Blended) หมายถึง การนำรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเสริมการเรียนการสอนตามรูปแบบปกติเจนเนตร มณีนาค (2545:66) ให้ความหมายของการเรียนการสอนแบบผสมผสานว่าหมายถึง การผสานกันระหว่างสื่อการสอนหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการสอนที่มีผู้สอน ยืนบรรยายให้การอบรมหรือการสอนแบบให้ทำเวิร์คชอร์ปที่มีผู้รู้คอยตอบคำถามอย่างแจ่มแจ้ง หรือการอ่านจากตำรารวมทั้งการใช้อีเลิร์นนิ่งแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีการวิจัยสำหรับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พบว่านักเรียนแบ่งวิธีการเรียนรู้ออกเป็น 3 วิธี คือ

.....1. การเรียนรู้ด้วย การเห็น

.....2. การเรียนรู้ด้วยเสียง

.....3. การเรียนรู้ด้วยการกระทำ

.....การเรียนรู้ลักษณะนี้เป็นการเรียนรู้ที่ลึกที่สุด ในยุคที่การเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การเรียนรู้แบบ ผสมผสาน สามารถตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากขึ้น มีความคงทนในความรู้ที่ได้รับ เนื่องจากผู้เรียนสามารถฝึกซ้ำแล้วซ้ำอีกจากบทเรียนออนไลน์หรือจากสื่ออื่นๆ ที่ผู้สอนได้จัดเตรียมให้ รายงานการวิจัยของ IDC กล่าวถึง หลักการเรียนรู้ของผสมผสาน 7 ประการที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนของตนได้ดีขึ้น ข้อที่น่าสนใจคือ ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนได้บ่อย ๆ ตามความต้องการ และ สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนต่าง ๆ อันอาจเกิดขึ้นใน ชั้นเรียน ที่สำคัญที่สุดของการเรียนแบบนี้คือ การติดตามผล Goldman และ Morgan ได้กล่าวไว้ว่า การติดตามประเมินผล โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้พัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน

....
.....สรุปในความคิดของดิฉัน
เรื่องการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น สามารถจะทำได้หลายวิธีการหรืออาจเรียกชื่อวิธีการแตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักการสำคัญ ก็จะเน้นตรงที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ครู- อาจารย์ ผู้สอนจะต้องยึดจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาที่ต้องการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือเจริญงอกงามครบถ้วนทุกด้านไปพร้อม ๆ กัน หรือเกิด ปัญญา เป็นหลักชัยไว้เป็นอันดับแรก การทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือเจริญงอกงามอย่างครบถ้วนทุกด้านจะมีความสำคัญที่สุด และจะสำคัญยิ่งกว่า ผู้เรียนสนุกสนานแต่ไม่ได้เรียนรู้อะไร หรือเรียนรู้ไปแบบผิด ๆ ซึ่งก็คือไม่ได้เรียนรู้ (Unlearned) อีกทั้งยังทำให้สิ้นเปลืองเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามถ้าเป็นครู อาจารย์ที่ดี และเป็นครูมืออาชีพนั้น ย่อมจะต้องสามารถทำให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ไปอย่างมีความสุขด้วย

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถอดความรู้ครั้งที่ 1 นักศึกษาการประถมศึกษาในรายวิชา การออกแบบพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา

ถอดความรู้ครั้งที่ 1 นักศึกษาการประถมศึกษาในรายวิชา การออกแบบพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา
กรณีศึกษา 
CMS : Content Management System ระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป คือ Joomla โดยกำหนด Workshop Website ให้นักศึกษพัฒนาเนื้อหารายวิชาจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนระดับประถม เพื่อเป็นการสะท้อนความรู้ที่ได้จากการทำ Workshop จึงได้กำหนดให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และถอดความรู้ ดังหัวข้อ...

1. ความหมายและประโยชน์ของ Joomla
- การพิจารณาเลือกใช้ CMS/LMS
ตอบ

สรุปเป็นของกลุ่มเราคือ
CMS("joomla")
หมายถึง การจัดการเว็บไซต์ที่สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก ทั้งการนำไปใช้ในด้านการศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ข้อมูลสามมารถอัพเดทได้ตลอดเวลาตามที่ต้องการใช้งาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดแถมยังสวยงามมากอีกด้วย มีการแสดงความคิดเห็นถึงผู้ทำเว็บไซต์ ผู้ทำเว็บไซต์จะได้นำมากลับมาปรับปรุงแก้ไขให้เว็บไซต์มีการพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป
1.cms มีการพัฒนาให้ใช้ฟรีจึงสะดวกในการใช้งาน
2.สามารถเปลี่ยนรูปแบบเว็บไซต์ได้ด้วยการออกแบบเองหรือดาวน์โหลดและมาติดตั้ง
3.สามารถจัดการดูแลเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง
4.สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ได้ทุกที่ทุกเวลาตามต้องการ

LMS
เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับการบริหารการเรียนการสอน ในรูปแบบ e-Learning เพื่อจัดการกับการใช้คอร์สแวร์ (Courseware) ในรายวิชาต่างๆ ระหว่างผู้สอน ผู้เรียน และผู้ดูแลระบบ (Administrator) โดยออกแบบระบบเพื่อเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวก เช่น โปรแกรมจะทำหน้าที่ ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียน เนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ตารางเรียน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถามตอบ การทำแบบทดสอบ เป็นต้น และองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูลกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถ นำไปวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความหมายของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะแสวงหาความรู้ Inquiry

ความหมายของรูปแบบการสอน

แบบสืบเสาะแสวงหาความรู้ Inquiry

การสอนแบบสืบเสาะแสวงหาความรู้ หมายถึง การหาความรู้โดยการสืบค้นข้อมูล  ความรู้  คำตอบ และข้อสงสัย

โดยอาศัยการสืบค้นด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาตร์สืบค้นหาคำตอบข้อเท็จจริง